Russia and Thailand
have been friends for 127 years
ความสัมพันธ์ไทย-รัสเซีย: ในกรณีศึกษาการเปรียบเทียบปัจจัยการประพาสรัสเซียของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ปี ค.ศ. 1897) กับการเยือนรัสเซียอย่างเป็นทางการของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (ปี ค.ศ. 2014-2016)
Comparative study of King Chulalongkorn's visit to Russia in 1897 to official visit by General Prayut Chanocha to Russia from 2014 to 2016 in the context of Thai-Russian relations
าชอาณาจักรไทยกับสหพันธรัฐรัสเซียได้เคยมีความสัมพันธ์ทางการทูตกันมาตั้งแต่สมัยที่รัสเซียยังเป็นจักรวรรดิรัสเซียภายใต้การปกครองของซาร์นิโคลัสที 2 แห่งราชวงค์โรมานอฟเรือรบของจักรวรรดิรัสเซียเดินทางมาถึงประเทศไทยในสมัยที่เป็นราชอาณาจักรสยามในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1863 (พ.ศ. 2406)
ความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับรัสเซียใกล้ชิดเพราะเป็นความสัมพันธ์ที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการระหว่าง 2พระองค์ความสัมพันธ์ระหว่างจักรวรรดิรัสเซียและราชอาณาจักรสยามได้หยุดชะงักลง เมื่อพรรค บอลเชวิค ยึดอำนาจในรัสเซียโค่นล้มซาร์นิโคลัสที่ 2 จากเหตุการณ์นี้ทำให้ประเทศไทยกับสหภาพโซเวียตขาดการติดต่อและห่างเหินกันเป็นเวลากว่า 20 ปี รัฐบาลไทยหันมาให้ความสนใจต่อสหภาพโซเวียตเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เริ่มขึ้นในยุโรป ในเดือนกันยายน ค.ศ.1939
ภาพรวมความสัมพันธ์ระหว่างไทย – รัสเซีย
ความตกลงแบบทวิภาคีต่อกันได้ในหลายมิติทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พลังงาน การท่องเที่ยว ฯลฯ รวมทั้งยังมีความตกลงที่อยู่ระหว่างการเจรจาอีกจำนวนหนึ่ง สำหรับความตกลงที่มีผลบังคับใช้แล้วมีอาทิ การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต กงสุลและการค้า ด้านการส่งกำลังบำรุงทางทหาร ด้านการปรึกษาหารือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศของประเทศทั้งสอง ด้านการศึกษา ด้านความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และวิชาการระหว่างกัน ด้านเทคโนโลยีอวกาศ ด้านการขนส่งทางอากาศ ด้านการท่องเที่ยว เป็นต้น ส่วน ด้านความตกลงที่อยู่ระหว่างการเจรจามีอาทิ ด้านความร่วมมือระหว่างกระทรวงยุติธรรม ด้านความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางคดีอาญา ด้านการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ด้านพลังงาน ด้านการสำรวจและใช้พื้นที่นอกอวกาศในทางสันติ ด้านการต่อต้านการค้ายาเสพติด เป็นต้น
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับรัสเซียเริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2440 และได้ผ่านช่วงเวลาของยุคสมัยโดยมีการเปลี่ยนแปลงปรับรูปแบบให้สอดรับกับกระแสการเมืองภายในของแต่ละประเทศและสภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศ ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นภาพความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างสองรัฐที่สะท้อนให้เห็นถึงความแปรผันของโลกและการเมืองได้อย่างชัดเจน กอปรด้วยภาพของการ”ทำความรู้จัก” “ถอยห่าง” “ฟื้นฟู” “ร่วมมือ” “หุ้นส่วน” และ “การเป็นเพื่อนที่ไว้ใจได้” ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของความสัมพันธ์ด้านการเมืองระหว่างไทยกับรัสเซียที่เริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2440 โดยมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทย-รัสเซียเป็นพิเศษระหว่างราชวงศ์จักรีกับราชวงศ์โรมานอฟ โดยเฉพาะความสนิทสนม แน่นแฟ้นระหว่างพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ของรัสเซียที่เป็นแกนกลางของการพัฒนาความสัมพันธ์ ไทยได้ถือเอาการเสด็จประพาสรัสเซียของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (3-11 กรกฎาคม พ.ศ. 2440) เป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน และได้แลกเปลี่ยนผู้แทนทางการทูตระหว่างกันในเวลาต่อมา โดยไทยได้แต่งตั้งอัครราชทูตประจำกรุงปารีสเป็นอัครราชทูตประจำนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กของรัสเซียเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2440 และในปี พ.ศ. 2441 รัสเซียได้ส่งเคานท์อเล็กซานเดอร์ โลลารอฟสกี้ มาเป็นกงสุลรัสเซียประจำกรุงเทพฯ
ร
ไทย - รัสเซีย หลังการปฏิวัติสังคมนิยม
ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศที่มีความสัมพันธ์พิเศษระดับราชวงศ์เป็นศูนย์กลาง ได้ดำเนินจนถึงปี พ.ศ. 2460 เมื่อรัสเซียเกิดการปฏิวัติสังคมนิยม และสถาปนาประเทศสหภาพโซเวียตขึ้น ไทยจึงได้ถอนการมีผู้แทนทางการทูตที่ดูแลรัสเซีย และยุติความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันลงชั่วคราว หลังจากนั้นทั้งสองฝ่ายต่างดำเนินความสัมพันธ์กันด้วยความระมัดระวัง
ไทย-รัสเซีย หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ภายหลังสงคราวโลกครั้งที่ 2 ไทยและรัสเซียได้ฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างกันในปี พ.ศ.2482 แม้ในช่วงแรกจะมีความเหินห่างอันเกิดจากการมีระบบการปกครองที่แตกต่างและสภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศในช่วงสงครามเย็นที่ก่อความหวาดระแวงเกิดขึ้นระหว่างประเทศที่อยู่ต่างขั้วอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เมื่อภาวะตึงเครียดระหว่างขั้วอำนาจในสงครามเย็นลดลง ไทยและรัสเซียก็ได้เริ่มติดต่อสัมพันธ์กันอีก โดยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ได้เดินทางเยือนสหภาพโซเวียตในปี พ.ศ. 2531 นับเป็นการเริ่มการพัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทยกับรัสเซียในยุคสหภาพโซเวียตอย่างจริงจังกันเป็นครั้งแรก
ความสัมพันธ์ไทย - รัสเซีย ในปัจจุบัน
หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี พ.ศ. 2534 รัสเซียได้รับการยอมรับให้เป็นผู้สืบสิทธิของสหภาพโซเวียตทั้งหมด รวมทั้งพันธกรณีกับนานาประเทศ จึงมีผลให้ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับรัสเซียดำเนินต่อมาโดยมิได้หยุดชะงัก ศักราชใหม่ของความสัมพันธ์ไทย – รัสเซียจึงเริ่มขึ้นหลังจากที่ไทยให้การรับรองสหพันธรัฐรัสเซียในฐานะรัฐอธิปไตยที่สืบสิทธิจากสหภาพโซเวียตและทั้งสองฝ่ายได้เริ่มเดินหน้าพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างเต็มที่จนถึงปัจจับีน และในปัจจุบันไทยกับรัสเซียได้มีความพยายามในการร่วมมือต่อกันหลายประการ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์ที่เป็นไปในรูปแบบของ ”หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์” (Strategic Partners) อันนำมาซึ่งการกระชับความสัมพันธ์ โดยมีกลไกความสัมพันธ์ทวิภาคีด้านการเมืองเป็นเครื่องผลักดันและนำไปสู่การพัฒนาความร่วมมือในสาขาอื่นๆที่ลึกและรอบด้านมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ไทยและรัสเซียได้มีการจัดตั้งกลไกต่างๆเพื่อดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างกัน ทั้งกลไกทางการทูต การหารือประจำปีระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศไทย-รัสเซีย และการประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี(JC) ไทย-รัสเซีย ซึ่งเป็นกลไกถาวร นอกจากนี้ยังมีการแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับต่างๆ และการประชุมความร่วมมือในกรอบพหุพาคี UN, ASEAN-Russia, ACD รวมทั้งกลไกอื่นๆที่นำมาใช้เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันในทุกระดับ